เชื่อว่าผู้ใช้รถใช้ถนนต้องเคยได้ยินประโยคที่ว่า “รถใหญ่ผิดเสมอ” ติดหูกันมาบ้าง แถมบางคนก็ยังเชื่ออย่างสนิทใจว่า…เวลาที่ขับรถยนต์แล้วเกิดการเฉี่ยว – ชนเข้ากับมอเตอร์ไซค์ก็มักต้องเป็นฝ่ายผิดอย่างแน่นอน
แต่จริงๆ แล้วอาจไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไปนะคะ เพราะต้องดูว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายประมาทก่อนและเป็นต้นเหตุให้เกิดการเฉี่ยว – ชนกัน ส่วนการวินิจฉัยว่าใครเป็นฝ่ายประมาทนั้นต้องดูที่องค์ประกอบตามกฎหมาย และพฤติการณ์ของคนขับรถแต่ละคัน การฝ่าฝืนกฎจราจร เจตนา รวมถึงผลของการกระทำผิด ซึ่งนั่นก็จะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าใครคือฝ่ายประมาท และใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่ะ เราจึงได้ยกตัวอย่างคำพิพากษาเกี่ยวกับรถเล็กชนกับรถใหญ่ ดังนี้ค่ะ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2961/2526 ผู้ตายขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่ชำนาญพอขับรถออกจากทางโท โดยประมาทพุ่งเข้าชนรถยนต์จำเลยที่ขับอยู่ในทางเอก ดังนั้นความเสียหายเกิดขึ้นจากความผิดของผู้ตายฝ่ายเดียว หาใช่เป็นผลโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยขับรถยนต์ผ่านทางแยกด้วยความเร็วประมาณ 30 ถึง 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไม่ ฉะนั้นการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
- ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรค 4 เป็นการกระทำผิดที่ “มิใช่โดยเจตนา” แต่ขาดความระมัดระวังซึ่ง “บุคคลในภาวะเช่นนั้น” จักต้องมีตาม “วิสัย” และ “พฤติการณ์” หรือได้ใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้น ไม่เพียงพอ
สรุปก็คือ..หากรถเล็กขับรถด้วยความเร็วหรือด้วยความประมาท และเกิดการเฉี่ยวชนขึ้นมา รถเล็กก็เป็นฝ่ายผิดได้ ไม่ได้วัดกันที่ขนาดของรถ “ว่าเล็กหรือใหญ่นะคะ”เพราะฉะนั้น ความเชื่อที่ว่า “รถใหญ่ผิดเสมอ” นั้นไม่เป็นความจริงค่ะ แต่หากมองตามประมวลกฎหมายแล้วน่าจะมาจาก “การขับสวนกันในซอยที่คับแคบ ซึ่งรถใหญ่ต้องให้รถเล็กไปก่อนค่ะ”
บนท้องถนนนั้นอุบัติเหตุย่อมเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าจะเป็นรถเล็ก หรือรถใหญ่ ดังนั้น “สิ่งที่สำคัญคือ” เวลาเราขับรถก็ควรมีสติอยู่ตลอดเวลา ไม่ประมาทและใช้ความระมัดระวังตลอดการเดินทาง น้ำใจไมตรีต่อกัน และเคารพกฎจราจร รวมถึงการซื้อประกันภัยรถยนต์กับ INSUREFRIEND ก็จะช่วยเพิ่มความอุ่นใจได้มากขึ้นค่ะ