หลายๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่า คำว่าประมาทเลินเล่อกับ เหตุสุดวิสัยนั้นอาจมีผลลัพพ์คล้ายกัน (เช่นเกิดอุบัติเหตุ) แต่ตามประมวลกฎหมายแล้ว ทั้งสองอย่างนั้นมีความหมายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนค่ะ แล้วแตกต่างกันอย่างไรล่ะ ?
วันนี้เราจะขออนุญาตพาทุกท่านไปดูคำบธิบายของทีมงานปรึกษาทนายความกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปรู้จักสองคำดังกล่าวรวมถึงความรับผิดของการทำละเมิดด้วยค่ะ
ประมาทเลินเล่อ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่มีบทบัญญัติให้ความหมายของคำนี้เอาไว้ แต่ในมาตรา ๕๙ วรรคสี่ ประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติเอาไว้ว่า..การกระทำประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นนั้น แต่หาได้ใช้ไม่
และจากบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งปละพาณิชย์มาตรา ๔๒๐ วรรค หนึ่ง จะโดยรวมความหมายของคำว่า..
ประมาทเลินเล่อ น่าจะมีความหมายว่า การกระทำที่มิใช่จงใจ โดยเป็นการกระทำที่ปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีวิสัยและพฤติการณ์ ซึ่งผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ค่ะ
เหตุสุดวิสัย
เหตุสุดวิสัย มีความหมายว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยบังเอิญไม่มีบุคคลใดคาดหมายหรือคาดการณ์ล่วงหน้าได้ และเกิดขึ้นโดยฉับพลันไม่มีบุคคลใดป้องกันหรือลีกเหลี่ยงได้
มาตรา 8 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คำว่า “เหตุสุดวิสัย” หมายความว่า..เหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น
จึงทำให้บุคคลที่ประสบเหตุสุดวิสัยย่อมไม่มีความรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา แม้จะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่น
สรุปคือ..คำว่าประมาทเลินเล่อกับเหตุสุดวิสัยนั้นมีความหมายไม่เหมือนกันนะคะ ถ้าเป็นเหตุสุดวิสัยแล้วความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลใดก็ตาม บุคคลนั้นไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายจากบุคคลอื่นได้ แต่ถ้าเป็นประมาทเลินเล่อหรือกระทำละเมิดในความหมายบุคคลนั้นย่อมเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้กระทำได้ เว้นแต่ทั้งสองฝ่ายต่างประมาทไม่หยิ่งหย่อนกว่ากันค่ะ
กรณีใดบ้างไม่ใช่เหตุสุดวิสัย (ประมาทประมาทเลินเล่อ)
รถเบรคแตก, ล้อหลุด, ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ก็นับว่าเกิดจากความประมาท ที่ไม่รักษาซ่อมแซมรถให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัย ฎีกาที่ ๒๓๓๑/๒๕๒๐ เป็นต้นค่ะ
กรณีใดบ้างที่เป็นเหตุสุดวิสัย
ขอยกตัวอย่าง เช่น ผู้ตายวิ่งตัดหน้ารถยนต์แบบกระชั้นชิด ถือเป็นความประมาทของผู้ตายเอง ฎีกาที่ ๒๐๑๕/๒๕๒๐ ,ขับรถหลบรถที่ล้ำสวนทางมา จึงเป็นเหตุให้ชนรถที่จอดข้างทาง ฎีกาที่ ๓๒๖ / ๒๕๒๒ เป็นต้นค่ะ