พ.ร.บ. คืออะไร?
พ.ร.บ. คือ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 โดยรถทุกคันที่จะต่อภาษี (ต่อทะเบียน) กับกรมขนส่งทางบก จะต้องทำ พ.ร.บ. นี้ด้วยเสมอ ซึ่งการทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ก็เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการใช้รถ และเพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที เมื่อบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่า ปลงศพ กรณีเสียชีวิต นั่นเองครับ
อัตราเบี้ย พ.ร.บ.
ประเภทรถ | เบี้ยประกัน |
รถยนต์ | |
1.รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน(รถเก๋ง) | 645฿ |
2.รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 3 ตัน(รถปิคอัพ) | 967฿ |
3.รถยนต์นั่งเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 15 คน(รถตู้) | 1,182฿ |
รถจักรยานยนต์ | |
1.ไม่เกิน 75 ซี.ซี. | 161฿ |
2.เกิน 75 ซี.ซี. แต่ไม่เกิน 125 ซี.ซี. | 323฿ |
3.เกิน 125 ซี.ซี. แต่ไม่เกิน 150 ซี.ซี. | 430฿ |
4.เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป | 645฿ |
วงเงินคุ้มครองของ พ.ร.บ.
ความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. จะได้รับเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลเท่านั้น พ.ร.บ. จะไม่คุ้มครองความเสียหายด้านอื่นๆ เช่น ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สิน
- กรณีบาดเจ็บ จะได้รับวงเงินคุ้มครอง สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาทต่อคน
- กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร จะได้รับวงเงินคุ้มครอง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน
ประกันภาคสมัครใจ คืออะไร?
ประกันภาคสมัครใจ เป็นประกันที่กฎหมายไม่ได้บังคับ ซึ่งจะทำหรือไม่ทำก็ได้ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย ขึ้นอยู่กับว่าเราจะให้ความสำคัญมากน้อยแค่ไหน ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ขึ้นมา ถ้าเราไม่มีประกันภาคสมัครใจเราก็จะรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นเองทั้งหมด แต่ถ้ามีประกันภาคสมัครใจ ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็จะกระจายไปยังบริษัทผู้รับประกันภัยที่เราได้ทำไว้
ประกันภัยภาคสมัครใจแบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลักๆ ดังนี้
- ประกันภัยชั้น 1
- ประกันภัยชั้น 2+
- ประกันภัยชั้น 2
- ประกันภัยชั้น 3+
- ประกันภัยชั้น 3
ความคุ้มครอง / เงื่อนไข | ชั้น 1 | ชั้น 2+ | ชั้น 2 | ชั้น 3+ | ชั้น 3 |
1.ซ่อมรถเรา | |||||
2.ซ่อมรถคู่กรณี | |||||
3.ค่ารักษาพยาบาลคนในรถเรา | |||||
4.ค่ารักษาพยาบาลคนในรถคู่กรณี | |||||
5.รถสูญหาย | |||||
6.รถไฟไหม้ | |||||
7.ต้องมีคู่กรณี |